– การหลงยึดในสิทธิของตน คิดว่าเรามีสิทธิจะทำอะไรก็ได้ในขอบเขตสิทธิของตน (หยาบ)– การหลงยึดในความถูกความดีที่เราคิด (กลาง)– การขุ่นเคืองเมื่อคนอื่นไม่เป็นอย่างที่เราคิด (กลาง) ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจาก ความหลงยึดมั่นถือมั่นในความเป็นเราของเราอย่างเหนียวแน่นและหากรุนแรงกว่านั้น ก็จะลามไปถึงหลงคิดว่า[…]
คนเราทุกข์เพราะความหลงยึดมั่นถือมั่นขันธ์นี้โดยความเป็นตัวตน เริ่มตั้งแต่ ตัวตนละเอียด คือ หลงว่าขันธ์เป็นสิ่งจริง (ไม่ใช่มายา) ตัวตนกลาง คือ สักกายทิฐิ – หลงในความเป็นเรา[…]
ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่ผ่านมามันก็เหมือนทุกสิ่งในชีวิต ที่ล้วนผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเราไม่มีอำนาจอะไรเลยที่จะไปฝืนมันได้นอกจากสอดคล้องกับธรรมชาตินั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยสติปัญญา สมมุติในโลกล้วนยึดถืออะไรไม่ได้ มันไม่มีค่ามีความหมายที่แท้จริงเพราะทั้งหมดล้วนคือสิ่งปรุงแต่งไปจากจิตของเราเองทั้งสิ้น การจะอยู่กับโลกอย่างมีความสุขและไม่ทุกข์ไปกับโลกเราจึงต้องอยู่ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น
การจะพ้นทุกข์ได้นั้น มันไม่ใช่ความเก่ง แต่เป็นสติปัญญาที่เห็นแจ้งในความจริงของชีวิตที่มีอยู่แล้วตลอดเวลา ความจริงที่ว่า ไม่มีสิ่งเลยที่เราจะไปยึดมั่นถือมั่นได้ คุณค่าความหมายทั้งหลาย ล้วนไม่ใช่สิ่งจริงแท้ มันคือสิ่งที่จิตนี้ปรุงแต่งขึ้นเท่าน้้น ความเป็นเรา ญาติมิตร คนรัก[…]
จงจำไว้ว่าสังสารวัฏ คือ การผิดซ้ำซากเพราะผิดซ้ำซากจึงวนอยู่ในภพนั้นอย่างออกไม่ได้ การปฏิบัติ คือ การแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นได้ ก็ไม่ต้องวนอยู่ในภพนั้นอีกต่อไป การจะแก้ไขข้อผิดพลาดของตนให้หมดสิ้นได้ มันจะค่อยเป็นค่อยไปมันไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน ขั้นตอนการแก้ไขข้อผิดพลาด มีดังนี้[…]
“กาลเวลาทั้งสามล้วนหยุดนิ่งมิไหวติงปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวสายธารแห่งเหตุและปัจจัย ปรากฏฉายเป็นภาพลวงตา ไม่ว่าสายฝน ลม หรือแสงแดดถูกจำกัดคับแคบเพราะตัณหาหยุดวาดภาพมากมายอันมายา หยุดเติมแต่งคุณค่าแก่สิ่งใด อันธรรมคู่ ไม่ว่าสุข หรือว่าทุกข์อย่าสะดุดหยุดจิต อยู่ตรงไหนธรรมชาติเดิม นอกเหนือธรรมใดๆ[…]
ขั้นตอนในการฝึกจิตในช่วง intensive ให้ตั้งมั่นอยู่เช่นนั้น หากมีจิตสังขารเกิดขึ้นอีก ก็อาจย้อนกลับไปพิจารณาเหมือนเดิม หรือ มองตรงไปที่จิตสังขารนั้น เพื่อเห็นถึงมายาว่างเปล่าของมัน ทำเช่นนี้ให้มาก เจริญให้มาก นับพันนับหมื่นครั้ง
สำหรับนักปฏิบัติ ยามเมื่อกระทบกับการกระทำที่ทำให้เราไม่พอใจ แล้วเรายังหวั่นไหว ขุ่นเคือง หรือพยายามเปลี่ยนแปลงผู้อื่นนั่นหมายความว่า เราขาดโพธิจิต ขาดสมาธิ และขาดวิปัสสนา ผู้ที่เจริญโพธิจิตจะยอมรับได้ทุกสถานการณ์ ด้วยความเมตตา เห็นอกเห็นใจ[…]
จงเข้าใจให้ถูกว่า ในการปฏิบัตินั้น เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อการได้ดีมีเป็นใดๆทั้งสิ้น อย่าได้หลงไปยึดมั่นว่า ฉันได้นั่นได้นี่ เป็นนั่นเป็นนี่ รู้นั่นรู้นี่ หรือถึงขั้นนั้นขั้นนี้ นั่นมันล้วนเกิดจากความหลงแห่งอัตตาทิฐิทั้งสิ้น เราควรตั้งหน้าเรียนรู้ดูกิเลสของตน ว่า[…]
จงจำไว้ว่า ไม่ว่าเธอจะรู้ธรรมระดับไหน แจ้งชัดเท่าใด ก้าวต่อไปก็คือเธอจะต้องนำธรรมนั้นมาภาวนา มาจัดการกับกิเลส เพื่อให้จิตเป็นอิสระจากกิเลสนั้นๆ ไปตามลำดับขั้น แม้เธอแจ้งชัดว่า ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา เธอก็ต้องดูสิว่า จิตเธอหวั่นไหวไปกับความเจ็บป่วยหรือไม่[…]