Intensive Practice Guide

ขั้นตอนในการฝึกจิตในช่วง intensive

  1. คิดพิจารณาให้เข้าใจแจ้งว่า ปรากฏการณ์หรือรูปนามว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน หรืออย่างน้อย ก็ให้เข้าใจแจ้งชัดว่า รูปนามนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีความเป็นเราในรูปนาม ความเป็นเราเป็นสิ่งปรุงแต่ไม่มีอยู่จริง
  2. ตั้งฐานเช่น กำหนดรู้ลมหายใจ ทำจิตให้สงบอยู่กับฐานที่กำหนด ไม่ว่าปรากฏการณ์ใดปรากฏ ให้ตระหนักถึงสัมมาทิฐิในข้อ 1 เพื่อให้จิตไม่ไหลไปตามหรือขัดแย้วกับปรากฏการณ์นั้น
  3. เมื่อจิตสงบ ไม่ฟุ้งตามอารมณ์ ให้ผ่อนคลายการกำหนด และฝึกให้ตั้งมั่นบนการรู้ตัวทั่วพร้อม (รู้รูปนาม)อย่างผ่อนคลาย
  4. เมื่อตั้งมั่นบนการรู้ตัวอย่างผ่อนคลายได้ ให้พิจารณา(ดู) รูปนามที่ปรากฏ ตามสัมมาทิฐิในข้อ1 ให้เห็นจริงสอดคล้องกับที่เคยคิดพิจารณามา
  5. เห็นและพิจารณารูปนามนั้นๆตามที่มันปรากฏให้เห็น แบบในข้อ4 จากหยาบไปละเอียด จาก ความคิด ความนึกระลึกได้ และความรู้สึก
  6. เมื่อเห็นแจ้งประจักษ์เข้าใจชัดได้จริง จิตจะคลายตัวออกจากความยึดมั่นถือมั่นเอง การวิตกวิจารจะสั้นลง ให้สังเกต เข้าใจอาการจิตที่คลายนั้น เปรียบเทียบกับตอนที่จิตยังจมอารมณ์อยู่
  7. เมื่อจิตสงบปราศจากการเคลื่อนไหว(จิตสังขารใหม่ยังไม่เกิด) ให้สังเกตอาการรู้ของจิต เมื่อเห็นอาการรู้ของจิตได้(ด้วยตาปัญญา) ก็ให้มองหาถามตัวเองว่ามันอยู่ตรงไหน มีรูปทรงสีสรรอย่างไร
    จบพบกับ answerless answer

ให้ตั้งมั่นอยู่เช่นนั้น หากมีจิตสังขารเกิดขึ้นอีก ก็อาจย้อนกลับไปพิจารณาเหมือนเดิม หรือ มองตรงไปที่จิตสังขารนั้น เพื่อเห็นถึงมายาว่างเปล่าของมัน

ทำเช่นนี้ให้มาก เจริญให้มาก นับพันนับหมื่นครั้ง แล้วจิตจะค่อยๆก้าวสู่การปล่อยว่างไปตามขั้น

Comments are closed