ทุกข์เพราะหลง หลงจึงทุกข์ (2/2)

– การหลงยึดในสิทธิของตน คิดว่าเรามีสิทธิจะทำอะไรก็ได้ในขอบเขตสิทธิของตน (หยาบ)
– การหลงยึดในความถูกความดีที่เราคิด (กลาง)
– การขุ่นเคืองเมื่อคนอื่นไม่เป็นอย่างที่เราคิด (กลาง)

ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจาก ความหลงยึดมั่นถือมั่นในความเป็นเราของเราอย่างเหนียวแน่น
และหากรุนแรงกว่านั้น ก็จะลามไปถึงหลงคิดว่า ตนดีกว่า เก่งกว่าผู้อื่น ไปจนถึงดูถูกผู้อื่น (หยาบมาก) อันเป็นประตูสู่นรก

มันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องละวางอารมณ์เหล่านี้ให้ได้
ซึ่งการละวางตรงนี้เป็นสิ่งที่ง่ายและหยาบกว่าการละสักกายทิฐิมากมายนัก

แค่เพียงพิจารณาให้เกิดปัญญาจนจิตยอมรับให้ได้ว่า
ทั้งหมดเป็นเพียงความคิดปรุงแต่งของเราเท่านั้น

ไม่ใช่ว่าเขาไม่เป็นอย่างที่เราคิด แต่เราต่างหากที่ไม่สามารถคิดได้อย่างที่เขาเป็น
คิดผิด แล้วก็ยึดมั่นในความคิดนั้น พอเขาไม่เป็นอย่างที่คิด ก็ไปโกรธขุ่นเคือง
นี่มันหลงซ้อนหลง หลงความคิดตนอย่างรุนแรง

คุณค่าความหมายทั้งหลาย ล้วนแปรเปลี่ยนไปตาม time place person ไม่ได้มีอยู่อย่างจริงแท้
แต่เรากลับไปยึดในสิ่งที่เกิดไปจากความคิดอันคับแคบของเราเองทั้งสิ้น นี่ก็หลงในความคิดของตนอีก

สิทธิเป็นเพียงกรอบแห่งความคิดโดยความเป็นตัวตนของเรา ผู้ฉลาดย่อมไม่ยึดในสิทธินั้น แต่จะกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด การเรียกร้องสิทธิ์ การถือสิทธิ์ การพยายามอ้างสิทธิ์ ไม่ใช่เกิดไปจากมานะแล้วจะคืออะไร
(เราเสมอกับเขา แล้วหลงยึดว่าเราเสมอกับเขา) นี่ก็หลงในความคิดของตนอีกเช่นกัน

นี่คือปัญญาง่ายๆ ที่เราจะต้องพิจารณาให้ได้ เพราะหากเรื่องง่ายๆ นี้จิตยังไม่ยอมรับ
อย่าไปหวังว่าจะละวางสักกายทิฐิเลย สัญญามันจะหลอกเอา

นี่คือการปฏิบัติที่เราจะต้องดำเนินเพื่อให้เกิดสติปัญญาละวางอารมณ์เหล่านี้ ในเบื้องต้น

นักปฏิบัติที่ไหนก็รู้ว่า รูปนามไม่ใช่เรา การหลงยึดรูปนามนี้โดยความเป็นเรา เป็นเหตุแห่งทุกข์
แต่จะมีสักกี่คนที่ละวางอารมณ์ทั้งสามนี้ได้

Comments are closed