- พิจารณาความจริงของรูปนามตามลำดับขั้นของปัญญาที่เรามี ให้จิตยอมรับ -(สร้างสัมมาทิฐิเบื้องต้น)
- ตั้งมั่นอยู่บนฐานด้วยสัมมาทิฐินั้น จาก ฐานกายไปจนสู่ฐานจิต (ตั้งสามฐาน) โดยไม่ให้จิตหวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่เกิด -(ปัญญานำพาสู่ความสงบ)
- สังเกตเรียนรู้รูปนาม(ความคิด อารมณ์ หรือปรากฏการณ์ที่ปรากฏ)ให้เห็นตามเป็นจริงตามสัมมาทิฐินั้น -(มองโลกตามเป็นจริงอย่างที่มันเป็น)
- เมื่อจิตเรียนรู้รูปนามนั้นจนแจ่มแจ้ง จิตจะค่อยๆ วางเฉยต่อรูปนามนั้น ของมันเอง -(ปัญญาเริ่มตัด)
- รู้เท่าทันจิตที่วางเฉยนั้น แล้วเรียนรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของมัน – (รู้ในสิ่งที่ไม่มีอะไรให้รู้)
- ตั้งมั่นอยู่บนรู้เช่นนั้นให้นานที่สุด ด้วยความผ่อนคลาย (ไม่ใช้การคิด ไม่ใช้การพิจารณา แต่เป็นประสบการณ์ตรง)
- เมื่อเกิดปรากฏการณ์ขึ้น หากยังคงตั้งมั่นบนข้อ6 ได้ ก็ให้ดำรงอยู่เช่นนั้นต่อไป
แต่หากจิตหวั่นไหวก็ให้กลับไปทำตั้งแต่ข้อ3
แต่หากหวั่นไหวรุนแรง ก็กลับไปทำตั้งแต่ข้อ2
ทำเช่นนี้บ่อยๆ แล้วสติปัญญาจะเข้มแข็ง
Comments are closed