รจนาธรรม(ร้อยแก้ว) แห่งประเด็นสำคัญในการปฏิบัติ

โดย Jamyang Khyentse Chokyi Lodro

เธอจำเป็นต้องเข้าใจให้ดีว่า
สภาพเกื้อหนุนอันเลิศ และอิสระ อันเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง (ในการที่เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา)นี้
มันไม่ได้คงอยู่ตลอดไป

จงพิจารณาให้ดี ถึงความทุกข์ยากทั้งหลายในสังสารวัฏ
และพากเพียรพยายามที่จะพัฒนาตน เพื่อหลีกจากการกระทำที่จะนำไปสู่ความทุกข์นั้น

จงปูรากฐานแห่งธรรม ด้วยการถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ดำรงรักษาศีลและวินัยให้บริสุทธิ์

เพาะบ่มโพธิจิต จิตอันประเสริฐที่มุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
แล้วดำรงรักษาไว้ให้มั่นคง โดยไม่ปล่อยให้มันถดถอย

พากเพียรฝึกฝนจิต(ไปตามลำดับขั้น) โดยปราศจากความลำเอียง หรือเลือกปฏิบัติแต่สิ่งที่ตนพึงพอใจ

ปรับเปลี่ยนอุปสรรคและสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย(ที่ประสบ) ให้เป็นหนทางสู่ความตื่นรู้

ปฏิบัติต่อความสุขและความทุกข์ ด้วยจิตที่ไม่แตกต่างกัน

วางเฉยต่อ โลกธรรมทั้งแปด (สละละวางอารมณ์ของโลก)

จงมองให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ทั้งหลายล้วนเป็นเพียงมายา

ในความเป็นมายาของปรากฏการณ์ และความว่างเปล่าจากตัวตน อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจอธิบายได้ด้วยคำพูดใดๆนั้น
จงภาวนาให้ตั้งมั่นอยู่บนความเป็นหนึ่งเดียวของความจริงทั้งสอง

………………….

เมื่อเข้าสู่หนทางแห่งวัชรยาน

จงเริ่มต้นพัฒนาจิตของตนด้วยการรับการอภิเษกธรรม (empowerment-การรับคำแนะนำในการปฏิบัติจากคุรุผู้รู้จริง)

รักษาศีลสมยา (ข้อปฏิบัติตนเฉพาะ ที่ได้รับจากคุรุ) ให้บริสุทธิ์

ปฏิบัติตนอย่างสืบเนื่องบนหนทางแห่งกุศโลบาย และปัญญา
โดยไม่แยกห่างจากการสำรวมระวัง กาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์

ด้วยคำแนะนำโดยตรง อันเกี่ยวกับธรรมอันลุ่มลึกแห่งความสมบูรณ์อันยิ่ง (The great Perfection)

จงพิจารณาให้เห็นแจ้งในธรรมชาติที่แท้จริงของจิต และความจริงของปรากฏการณ์ทั้งปวง ว่า

มันล้วนว่างเปล่า ไร้จุดเริ่มต้น มิได้มีการเกิดขึ้น หรือตั้งอยู่ อยู่แล้วแต่เดิม

และบนความตื่นรู้นั้น มันมิได้มี การไป การมา หรือการหยุดอยู่

นั่นล่ะคือ ราชาแห่งความตื่นรู้อันยิ่งใหญ่ พระสัมตปาดรา พุทธะที่มีอยู่แล้วในตัวเธอ

Comments are closed